บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

บ้านตัว L

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง ภาพจำของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น คือมีความอบอุ่น เรียบง่าย และถ่อมตนเป็นพื้นฐาน แต่สำหรับยุคสมัยใหม่ที่ความชื่นชอบถูกพัฒนาก้าวตามเทคโนโลยี สไตล์โมเดิร์นจึงดูเหมือนจะเข้ามามีบทบาทกับความเรียบง่ายของบ้านญี่ปุ่นไม่มากก็น้อย ทั้งในส่วนของฟังก์ชันการใช้งาน การออกแบบภาพลักษณ์ให้น่าสนใจและโดดเด่นยิ่งขึ้น อย่างเช่นบ้านหลังคาแหงนสูงที่นำมาให้ชมในเนื้อหาชุดนี้

บนที่ดินขนาด 58 ตารางวา แปลงหัวมุมที่ติดถนนสัญจรไปมาของชุมชน สถาปนิกเลือกที่จะจัดผังบ้านชั้นครึ่งเป็นรูปตัว L เว้นคอร์ทไว้ทางด้านขวาที่มีตึกสามชั้นคอยบังแสงให้ ส่วนปีกซ้ายของบ้านก่อผนังทึบ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว ทั้งยังป้องกันเสียง กันฝุ่นจากภายนอก หลังคาดีไซน์ให้โมเดิร์นรูปทรงแหงนสูง ค่อย ๆ ลาดต่ำมายังหน้าบ้าน มุงด้วยเมทัลชีทสีเทา The Sea Galleri ที่พักภูเก็ต

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

อาคารชั้นครึ่งมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 132 ตารางเมตร เป็นขนาดที่กะทัดรัดพอเหมาะกับครอบครัวเล็ก ๆ ที่มีสมาชิกอาศัยอยู่เพียง 3 คนเท่านั้น ภายในบ้านยังคงฟังก์ชันแบบญี่ปุ่นเอาไว้ อย่างเช่นการลดพื้นที่ให้ต่ำลงในทางเข้าบ้าน เป็นพื้นที่นั่งใส่รองเท้า ทั้งยังแบ่งโซนไว้เป็นห้องเก็บรองเท้า เก็บของอีกด้วย

พื้นที่ใช้สอยชั้นล่างมากกว่าชั้นบน จึงเหมาะกับการทำฝ้าสูงแบบ Double Volume ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยเพิ่มความปลอดโปร่งให้กับบ้าน ตกแต่งภายในให้เชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอก ลานว่าง ๆ ช่วยรับลมได้เป็นอย่างดี

ห้องครัวเล็ก ๆ แสนน่ารักที่อยู่ใกล้กับห้องทานอาหารเพียงไม่กี่ก้าว สามารถช่วยกันรับส่งอาหารมานั่งทานกันได้โดยง่าย บันไดบ้านอยู่ชิดติดผนังด้านหนึ่ง พื้นที่ใต้บันไดแม้จะมีเพียงเล็กน้อย ก็ยังใส่ไอเดียเป็นโซฟานั่งเข้าไปได้ เพิ่มพื้นที่ใช้งาน เกิดประโยชน์ที่คุ้มค่าในทุกตารางเมตร ตัวอย่าง บ้าน 3 ชั้น

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

ฝ้าเพดานไม้ตีตามแนวของหลังคา เพิ่มมิติที่แตกต่างกับผนังทาสีนวล ๆ มุมนั่งเล่นสุดโปร่ง เพราะมีประตูกระจกบานเลื่อนเปิดออกไปยังชานระเบียงได้ด้วย เมื่อมองออกไปจากมุมนี้จะเห็นว่ามีรั้วไม้กั้นอยู่อีกชั้น เป็นการแบ่งแยกตัวบ้านออกจากพื้นที่จอดรถ รั้วช่วยพรางตาและลดการสะท้อนแสงจากรถ ไม่ทำให้รบกวนการพักผ่อนในช่วงเวลากลางวัน

บ้านสไตล์โมเดิร์นหลังคาเพิงหมาแหงนหรือหลังคาจั่วแหลมที่แวดล้อมด้วยเพื่อนบ้าน ควรระมัดระวังเรื่องการเลือกใช้สีวัสดุมุงหลังคาเมทัลชีท ควรคำนึงถึงทิศทางการสะท้อนกลับของแสง เพราะอาจสร้างความรบกวนแก่เพื่อนบ้านได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งหากกังวลเรื่องการใช้สีเข้มจะมีผลต่อการดูดความร้อน ควรเลือกใช้แบรนด์เมทัลชีทที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อนได้แม้เฉดสีเข้มจะดีกว่า 

บ้านตัว L สีขาว สวยอยู่สบายกับผนังที่เปิดได้

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

บ้านยุคใหม่ของคนหนุ่มสาวในประเทศออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งจะเป็นอาคารที่ต่อเติมจากบ้านเก่า เหมือนครอบครัวขยายในไทยสมัยก่อน เพราะบ้านที่นั่นพื้นที่ค่อนข้างกว้าง  ซึ่งอาจจะเป็นบ้านชั้นเดียวหรือเป็นแบบบ้านสองชั้น ก็จะเน้นตัวบ้านที่ดูโปร่งสบาย และสะท้อนให้เห็นถึงกลิ่นอายของความโมเดิร์นที่ไม่ขัดเขินกับบ้านเดิมที่สร้างมาก่อน

นับเป็นการให้เกียรติต่อฝีมือและภูมิปัญญาของช่างเก่า แต่ก็ยังคำนึงถึงความสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ไปพร้อมกัน บ้านหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็คการต่อเติมที่ดูง่าย ๆ โทนสีไม่มาก แต่ถ้าถามว่าอยู่สบายไหม ต้องตอบว่าสบายมาก ๆ

อาคารด้านหน้าเป็นบ้านสองชั้นสไตล์โคโลเนียล ซึ่งถูกปรับปรุงใหม่ในสีขาวที่ดูปิดจากถนน ส่วนด้านหลังจึงพยายามเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่กลางแจ้งให้มากขึ้น โดยการทำบ้านเป็นรูปตัว L ล้อมสวนและสระน้ำเอาไว้ตรงกลาง ซึ่งสถาปนิกตั้งใจทำประตูกระจกใส ทำให้ภายในภายนอกถูกเบลอเข้าด้วยกัน

ผิดกับด้านบนที่เป็นห้องส่วนตัว ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากถนน ทีมงานเเพิ่มความเป็นส่วนตัวด้วยการทำฟาซาดไม้ระแนงโปร่งๆ และครีบอะลูมิเนียมที่เปิดปิดได้ ช่วยเพิ่มรูปลักษณ์ร่วมสมัยให้กับการออกแบบสถาปัตยกรรม

โครงสร้างบ้านภายในเปิดให้เห็นแผ่นคอนกรีตเปลือยบนพื้นและเพดาน ปนกับงานไม้ในหลายๆ จุด เพื่อไม่ให้บ้านดูดิบจนดูแข็งกระด้าง ประตูบ้านเป็นแบบบานเลื่อนแบบ 3 ราง ที่เก็บเข้าด้านข้างซ้อนกันได้และยังเป็นวัสดุกระจก ความใสทำให้ชั้นนี้มีอารมณ์เหมือนเป็นใต้ถุนบ้านโล่งๆ รับแสงธรรมชาติและอากาศเข้าไปหมุนเวียนภายใน และจุดที่พิเศษ คือ ทุกด้านจะได้รับวิวและความรู้สึกสบายเท่า ๆ กัน

ฟังก์ชันใช้งานในชั้นล่างกระจายไปตามจุดต่างๆ โดยไม่มีผนังก่อแบ่งแยกห้องเป็นห้องเล็กห้องน้อย ทำให้แต่ละโซนของบ้านสามารถเข้าถึงและเชื่อมโยงกันได้หมด ในขณะที่ยังดูมีสัดส่วนที่กำหนดโดยเฟอร์นิเจอร์ในแต่ละจุด ซึ่งเป็นข้อดีของการจัดแปลนแบบ open plan

บ้านตัว L บ้านหลังคาแหงนสูง

ในวันที่มี event พิเศษของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการจัดปาร์ตี้วันเกิด ฉลองขึ้นปีใหม่ หรืออื่น ๆ ประตูบ้านที่เปิดออกไต้ทุกด้านจะทำให้ขอบเขตของตัวบ้านหายไป กลายเป็นเหมือนสเปซเดียวกันขนาดใหญ่ที่รองรับคนได้มากขึ้น สมาชิกในบ้านและแขกที่มาเยือนจึงรู้สึกได้ถึงอิสระในการทำกิจกรรมได้อย่างชัดเจน

ในขณะที่บางคนง่วนกับเตรียมอาหารทำครัว คนอื่นๆ อาจนั่งเล่นในบ้านชิล ๆ หรือถือเครื่องดื่มออกไปนั่งเล่นกลางสนามหญ้า รออาหารอร่อย ๆ มาเสิร์ฟ แต่ในบางวันที่อากาศไม่เป็นใจ หรือต้องการความเป็นส่วนตัวก็สามารถปิดประตูกั้นแต่ละจุดได้ โดยที่ไม่รู้สึกว่าถูกตัดขาดออกจากกัน

สำหรับบนชั้นสอง จะสร้างความรู้สึกของความผ่อนคลายและเป็นส่วนตัวมากขึ้น เพราะเป็นพื้นที่ห้องนอน แต่ถ้าปิดทึบทั้งหมดก็จะเท่ากับเป็นการปิดวิสัยทัศน์ของห้องและลดพื้นที่รับแสงรับลมไปในตัว

ทางเลือกที่ดีกว่าคือการใส่ฟาซาดระแนงที่มีความทึบสลับโปร่ง และฟาซาดแผ่นครับอะลูมิเนียมให้เลือกใช้ตามสถานการณ์ได้อย่างยืดหยุ่น ในช่วงที่ต้องการเปิดรับแสงและลม หรืออยากนั่งมองความเคลื่อนไหวบนถนนนอกบ้านก็ผลักเปิด แต่ถึงเวลาพักผ่อนก็ดึงปิดได้

สำหรับชั้นล่างของตัวบ้านที่ได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคแรก ๆ ที่สร้างแบบ free facade คือผนังไม่ต้องทำหน้าที่รับน้ำหนัก แต่คำนวณให้มีเสาและองค์ประกอบอื่นๆ เป็นจุดรับน้ำหนักแทน อย่างบ้านนี้จะมีเสากลม ๆ วางเป็นระยะๆ  ทำให้สามารถติดตั้งประตูบานกระจกที่เปิดได้กว้างมากขึ้น ส่งผลให้บรรยากาศบ้านมีความโล่งสบายดูมีอิสระเหมือนไร้ผนัง 

7 เหตุผล ที่ทำให้เป็นแบบบ้านในฝันของคนมีเทรนด์

แบบแปลนบ้าน ในสมัยนี้ถ้าใครติดตามเทรนด์ของบ้านในปัจจุบันนี้จะต้องเคยเห็นบ้านแบบรูปทรงตัว L ผ่านตามาบ้างอย่างแน่นอน เพราะกำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรงได้รับความนิยมสูงในขณะนี้ การสร้างบ้านในลักษณะตัว L เป็นรูปทรงแบบบ้านที่จะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถมีความสมดุลในการใช้ชีวิตและแบ่งสรรปันส่วนการตกแต่งบ้านได้อย่างลงตัว แต่ถ้าใครกำลังลังเลอยู่ว่าควรสร้างแบบแปลนบ้านที่เหมาะสมลักษณะตัว L อย่างไรดี ลองมาดู 7 ข้อดีของบ้านตัว L กันดีกว่า

1. เพิ่มความปลอดโปร่ง

การสร้างบ้านโดยไม่สร้างเต็มสี่เหลี่ยมของขนาดแปลงที่ดินทั่วไป อาจช่วยเพิ่มความสะดวกในการถ่ายเทของอากาศภายในบ้าน ตามหลักการของการถ่ายเทอากาศ โดยลมจะสามารถพัดผ่านเข้ามาภายในบ้านได้สะดวกมากขึ้น หากมีช่องลมเข้าและช่องลมออก โดยที่ลมสามารถพัดผ่านช่องลมได้ แต่หากมีเพียงแค่ช่องใดช่องหนึ่งลมจะไม่เข้า

ทำให้อากาศไม่ได้รับการถ่ายเท แบบบ้านทั่วไปมักถูกห้องอื่นบดบังช่องลมไป แต่หากเป็นบ้านตัว L จะมีการวางผังห้องเพื่อไม่ให้ช่องลมซ้อนทับกัน จึงทำให้มีการหมุนเวียนของอากาศภายในบ้านและเพิ่มความสะดวกสบายภายในบ้านอีกด้วย

แบบบ้านตัว L ยังมีความสามารถในการปรับแปลงได้ง่าย โดยสามารถปรับขนาดให้ลงตัวกับโจทย์ความต้องการได้ โดยที่หน้าตาและรูปทรงบ้านไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม สำหรับบ้านตัว L จะช่วยให้การวางแบบบ้านโดยไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนและสามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้บ้าน


2. เพิ่มพื้นที่สีเขียว

บ้านแบบตัว L มีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถจัดสรรพื้นที่ภายในบ้านได้อย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถใช้พื้นที่ที่เหลืออยู่เพื่อจัดสวนหรือปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่มเติมได้อีกด้วย เช่น การปลูกต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านมีงบประมาณเหลืออยู่มากพอ ก็สามารถสร้างสระว่ายน้ำเพิ่มเติมได้อีกด้วย

เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณนำแบบบ้านตัว L ไปสร้างเป็นบ้านพักตากอากาศที่มีวิวสวยงามริมภูเขาหรือทะเล ด้วยการวางแผนแปลนของบ้านให้เหมาะสมกับทิศทางวิว จะช่วยเพิ่มความสวยงามและคุณค่าให้กับบ้านพักตากอากาศมากขึ้น

นอกจากนี้ยังมีข้อดีของบ้านแบบตัว L อีกหลายอย่าง ได้แก่ สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย ๆ ตามความต้องการของเจ้าของบ้าน โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือหน้าตาของบ้าน เพียงแค่ปรับปรุงตามความต้องการเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการลดขนาดหรือเพิ่มขนาดของบ้าน หรือสร้างเพิ่มส่วนขยายให้กับบ้าน

เช่น การสร้างทางเดินใหม่ และการปรับแก้ไขเพื่อให้ได้บ้านที่สวยงามและหรูหรามากยิ่งขึ้น หากมีพื้นที่แปลงสวนหรือที่ว่าง ๆ ที่สามารถใช้เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำสวนผัก หรือเลี้ยงสัตว์เลี้ยง ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในบ้านได้


3. เพิ่มทางเดิน ช่วยกันความร้อน

ทางเดินภายในของบ้านตัว L จะช่วยให้เกิดการสัญจรภายในบ้านได้อย่างสะดวก แล้วก็เป็นตัวช่วยในการบดบังแสงแดดได้เป็นอย่างดี ทำให้การอาศัยอยู่ภายในบ้านจะรู้สึกเย็นสบาย ถ้าเจ้าของบ้านต้องการให้มีที่นั่งเล่นริมระเบียงเพื่อชมสวน เหมาะกับการวางทางเดินไว้ฝั่งทิศตะวันออกหรือทิศเหนือเพื่อให้ช่วงกลางวันได้นั่งลมแดดได้ทั้งวัน แต่หากว่าเจ้าของบ้านใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายในห้องนั่งเล่นหรือห้องนอน ก็ควรเลือกทางเดินไว้ทางทิศใต้ ทิศตะวันตก เพราะทางเดินจะได้เป็นส่วนบดบังแสงแดดได้ดี


4.เพิ่มครัวในบ้า

หากคุณสร้างบ้านแบบปกติทั่วไป โดยทั่วไปจะจัดห้องครัวไว้ที่ด้านหลังบ้านหรือตั้งอยู่ติดกับด้านห้องใดห้องหนึ่ง แต่ถ้าคุณสร้างบ้านแบบตัว L จะสามารถแยกห้องครัวได้อย่างเป็นอิสระ โดยให้เจ้าของบ้านเลือกได้ว่าจะวางห้องครัวที่ฝั่งไหน และถ้าคุณสร้างบ้านไม่ใหญ่มากผังห้องที่วางไม่ซ้อนทับกับห้องใด ๆ จะทำให้ลมสามารถถ่ายเทอากาศได้สะดวกขึ้น ทำให้ห้องครัวมีการระบายอากาศที่ดีและลดกลิ่นอาหารได้ดีทีเดียว

นอกจากนี้ ห้องครัวแบบตัว L ยังมีความสามารถในการปรับแต่งได้อย่างสะดวกสบาย โดยเราสามารถปรับขนาดหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงได้อย่างอิสระตามความต้องการ และเมื่อเทียบกับแบบบ้านอื่น ๆ แบบบ้านตัว L มักจะมีการใช้พื้นที่ในการสร้างบ้านได้มากกว่า ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีพื้นที่ที่จำกัด


5. เพิ่มการจัดผังได้อย่างเป็นสัดส่ว

การวางผังบ้านที่เหมาะสมจะทำให้การอยู่อาศัยรู้สึกสบายเป็นส่วนตัวและผ่อนคลาย โดยเฉพาะถ้าสร้างบ้านเป็นแบบตัว L ซึ่งทางเดินภายในบ้านจะเป็นลักษณะเส้นตรง ผู้ที่อาศัยอยู่ก็จะสามารถเดินเข้าสู่ห้องต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก สร้างความเป็นส่วนตัวได้ในระดับหนึ่ง เช่น การวางผังให้ห้องรับแขกแยกออกไปจากช่องทางเดิน

หากสมาชิกภายในบ้านกำลังมีแขกหรือนั่งพักผ่อนอยู่ภายใน เมื่อมีสมาชิกในครอบครัวเดินผ่านก็จะไม่ทำให้รบกวนต่อกัน ซึ่งถ้าเป็นบ้านแบบทั่วไปที่ห้องรับแขกจะนิยมจัดวางไว้ตรงทางเดินเข้าบ้าน เวลาใครเดินเข้าออกก็จะรบกวนผู้ที่ใช้ห้องรับแขกเมื่อช่วงที่เดินผ่าน


6. เหมาะกับที่ดินหน้าแคบ

ปัจจุบันที่ดินแบ่งขายทั้งภายในตัวเมืองหรือชนบท หากซื้อแบบจัดสรรเป็นแปลงเล็ก ๆ มักนิยมที่จัดแบ่งในแนวลึกและแคบ แต่สำหรับแบบบ้านตัว L จะช่วยให้จัดวางได้เหมาะกับแปลงที่ดินที่มีลักษณะแนวลึกได้อย่างลงตัว หากได้ที่ดินหน้าแคบมาก ๆ แนะนำว่าให้ออกแบบหัวตัว L ลดขนาดลงมาหรือออกแบบทางเดินให้แคบลงก็จะได้บ้านที่มีพื้นที่ใช้สอยพอเหมาะ


7. แบบบ้านปรับแปลนได้ง่าย

การสร้างบ้านแต่ละหลังนอกจากความชอบของเจ้าของบ้านแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย เช่น งบประมาณและขนาดของที่ดิน ข้อดีของบ้านตัว L คือเราสามารถปรับขนาดให้ลงตัวกับโจทย์ความต้องการได้ โดยที่หน้าตาและรูปทรงบ้านไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม อาทิเช่น แปลนบ้านเดิมวางไว้ที่หน้ากว้าง 12.3 เมตร แต่ติดปัญหาตรงหน้ากว้างที่ดินไม่เพียงพอจึงมีการปรับแก้ไขลงมาให้เหลือหน้ากว้าง 9.5 เมตร ก็ทำให้ลงตัวพอดีกับพื้นที่ได้อย่างไม่ดูอึดอัด