บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก

บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก

บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก หน้าแคบ น่ารักสุดๆ

บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก

บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก หน้าแคบ น่ารักสุดๆ บ้านที่นำมาให้ชมในบทความนี้มีชื่อว่า LLLBion House ตั้งอยู่บนพื้นที่หน้าแคบในเมืองเมลเบิร์น ชุมชนรอบด้านยังคงเป็นอาคารร่วมสมัยที่มีกลิ่นอายของความคลาสสิค ซึ่งก่อนที่จะทำการปรับปรุงบ้านขึ้นมาใหม่ บ้านหลังเดิมก็มีลักษณะเดียวกันกับบ้านข้างเคียง จึงทำให้สถาปนิกต้องการนำเสนอที่อยู่อาศัยในรูปแบบการผสมผสานระหว่างความโมเดิร์นและความอ่อนโยนของสไตล์วิคตอเรีย เพื่อเชื่อมโยงอารมณ์ของบ้านให้สอดรับกับบริบทของชุมชน ไม่แปลกแยกและแตกต่างจนเกินไป บ้านจัดสรรภูเก็ต

บ้านสไตล์นอร์ดิกคืออะไร

บ้านสไตล์นอร์ดิกถูกเรียกว่าเป็นฝาแฝดบ้านสไตล์มินิมอล มีรูปทรงคล้ายกับสไตล์ Modern Barn ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากยุ้งฉางหรือโรงนาในแถบยุโรป ดูเรียบง่าย ไม่มีรายละเอียดซับซ้อน อีกทั้งยังเน้นความธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวนอร์ดิกดั้งเดิมอีกด้วย“Nordic” คือคำที่ใช้เรียกพื้นที่แถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย มีประเทศที่เป็นกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ แม้จะอยู่ทางโซนยุโรปเหนือ แต่สภาพภูมิอากาศไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีละติจูดเดียวกัน โดยฤดูหนาวจะค่อนข้างอบอุ่น เพราะได้รับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ถ้าเป็นช่วงหนาวจัดจะมีหิมะตก การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วยเพิ่มแสงสว่างและความอบอุ่นบ้านเดี่ยว

บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก

ดีไซน์ภายนอกบ้านค่อนข้างสร้างเต็มที่ดิน เนื่องด้วยความแคบจึงทำให้มีพื้นที่จำกัด อาคารสองชั้นเน้นเป็นทรงสูง หลังคาจั่วแหลมไร้ชายคาโชว์ความโดดเด่น แสดงออกถึงสไตล์โมเดิร์นอย่างเต็มพิกัด นำวัสดุธรรมชาติและคุมธีมด้วยโทนสีอ่อน เพื่อให้อาคารที่ปรับปรุงใหม่ไม่ขัดแย้งกับบ้านหลังอื่น ๆ รั้ว กำแพงบ้าน รวมถึงระแนงตีด้วยไม้ตามเส้นแนวตั้ง เส้นสายที่เว้นระยะห่างแบบพอเหมาะพอดี ทำให้บ้านทรงสูงแลดูมีมิติมากขึ้นส่วนผนังบนชั้นสองเลือกใช้งานไม้สีอ่อนเช่นกัน กรุปิดความคมชัดของหลังคาทรงจั่ว และทำการเว้าหน้าต่างให้อยู่ลึกลงไปจากผนังหลัก เพื่อให้มีชายคาโดยอัตโนมัติ โครงการบ้าน ช่วยบังแสง กันฝนไม่ให้ไหลย้อนเข้าสู่ภายในบ้าน 

ความแปลกใหม่ของบ้านหลังนี้อยู่ที่ฟังก์ชันภายใน พื้นที่ส่วนรวมของครอบครัวถูกยกขึ้นไว้บนชั้นสอง ห้องนั่งเล่น ทานอาหารและครัว ถูกจับรวมเอาไว้ในห้องเดียวกันแบบผัง Open Plan มีพื้นที่กลางแจ้งปูสนามหญ้าที่เชื่อมออกมานอกห้อง ซึ่งใช้หลังคาของชั้นล่างให้เป็นพื้นระเบียงของชั้นสอง การดีไซน์ในลักษณะนี้ต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักของโครงสร้าง ควรให้วิศวกรคำนวณก่อนเสมอ เพื่อความลปลอดภัยในการใช้งานและไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างในระยะยาวความแปลกใหม่ของบ้านหลังนี้อยู่ที่ฟังก์ชันภายใน พื้นที่ส่วนรวมของครอบครัวถูกยกขึ้นไว้บนชั้นสอง ห้องนั่งเล่น ทานอาหารและครัว ถูกจับรวมเอาไว้ในห้องเดียวกันแบบผัง Open Plan มีพื้นที่กลางแจ้งปูสนามหญ้าที่เชื่อมออกมานอกห้อง ซึ่งใช้หลังคาของชั้นล่างให้เป็นพื้นระเบียงของชั้นสอง การดีไซน์ในลักษณะนี้ต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักของโครงสร้าง ควรให้วิศวกรคำนวณก่อนเสมอ เพื่อความลปลอดภัยในการใช้งานและไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างในระยะยาว โครงการบ้าน

ผนังห้องสีขาวเมื่อนำเฟอร์นิเจอร์ไม้เติมลงไปยิ่งสวยสะดุดตา โต๊ะทานอาหาร 8 ที่นั่ง ใช้ไม้เฉดสีเข้มกว่าเคาน์เตอร์ครัวและไอซ์แลนด์ที่ใช้สีโทนสว่างเป็นพิเศษ ครัวในบ้านจึงดูสบายตา ลดความคับแน่นของพื้นที่ได้อย่างยอดเยี่ยม อีกทั้งยังมีประตูกระจกบานเลื่อนช่วยในการรับแสงธรรมชาติให้กระจายไปสู่ทุกตารางเมตร ทำให้แสงภายในบ้านไม่ขาดแคลนตลอดทั้งวันระหว่างทางเดินนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ เพิ่มความคุ้มค่า ด้วยการตกแต่งเป็นมุมทำงานหรืออ่านหนังสือ ผนังด้านหนึ่งบิลท์อินเป็นชั้นวางของ ส่วนผนังฝั่งตรงกันข้าม ทำการเว้าพื้นที่เข้าไปและทำการออกแบบเป็นโต๊ะตัวยาว เป็นมุมสงบที่อยู่ใกล้ชิดกับห้องแฟมิลี่เพียงไม่กี่ก้าวเท่านั้น

ห้องนอนแต่ละห้องมีพื้นที่ใช้สอยไม่กว้างเท่าไรนัก แต่มีความสบายระดับ 10 ด้วยการจัดวางเตียงนอนขนาดที่พอเหมาะพอดี มีช่องเปิดรับแสงที่กรองด้วยผ้าม่านสีขาวบางอีกชั้น และนำกระถางไม้ประดับไปจัดวางเพิ่มชีวิตชีวาให้กับห้องได้อย่างยอดเยี่ยมเพิ่มมิติให้กับราวบันได ด้วยการใช้ไม้ระแนงหันทางสันออกและตียึดจากเพดานชั้นสองจนถึงพื้นชั้นล่าง มีการซ่อนไฟไว้ตามช่องว่างของซี่ระแนงไม้ ซึ่งได้ความสว่างตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน แม้พื้นที่ความกว้างของบันไดจะไม่มาก ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกอึดอัดคับแคบขณะที่เดินขึ้นลงเลย แปลนบ้านจัดสรร

ข้อควรรู้ก่อนสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์มินิมอล-นอร์ดิก

1. หากอยู่ในพื้นที่ที่ร้อนมาก แดดส่องจัด การสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกอาจจะต้องลดด้านที่เป็นกระจกให้น้อยลง เพื่อให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป

2. การเลือกวัสดุควรเลือกให้เข้ากับภูมิอากาศและภูมิประเทศของบ้านเรา เช่น ถ้าเลือกตกแต่งภายนอกเป็นไม้ ควรเลือกชนิดที่ทนฝน ทนพายุ ทนแดด ไม่แตกหรือหักง่าย เพราะบ้านเราค่อนข้างเจอพายุบ่อย หากเป็นหลังคาอาจจะเลือกหลังคาคอนกรีต เพราะแข็งแรง และดูเนียนตา น่าจะเหมาะกับบ้านสไตล์นี้มากที่สุด

3. การเลือกเฟอร์นิเจอร์ควรเลือกดีไซน์ที่เรียบง่าย คงคอนเซปต์ ‘Less is More’ เช่น ขอบเรียบเนียนและโค้งมน ไม่มีองค์ประกอบที่ดูรกตา เพื่อคงความนอร์ดิกให้มากที่สุด

4. หากอยากให้บ้านสวยเท่ ดูสุขุมลุ่มลึก แนะนำเป็นโทนดำหรือเทาเข้ม แต่ถ้าชอบความคลีน ๆ ดูมินิมอล แนะนำเป็นโทนสีขาว เทาอ่อน หากเป็นไม้ควรเป็นสีอ่อน