บ้านโรงนา
บ้านโรงนา เขตหนาว ที่คนเขตร้อนก็เทให้ทั้งใจ
บ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์น
บ้านโรงนา เขตหนาว ที่คนเขตร้อนก็เทให้ หากเราเป็นคนเหนือก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนต้องชอบน้ำพริกหนุ่ม เช่นเดียวกับคนใต้ที่บางคนไม่ทานสะตอ เพราะความชอบหรือไม่ชอบเป็นเรื่องรสนิยมที่ไม่มีกรอบกั้นและไม่อาจหาเหตุผลมาอธิบายได้ การสร้างบ้านก็เช่นเดียวกัน พบว่า บ้านเรานั้นแม้จะอยู่ในเขตร้อนแต่ก็ยังมีคนที่เทใจให้แบบบ้านในเขตหนาว อย่างเช่น บ้านสไตล์นอร์ดิก บ้านโรงนาโมเดิร์นจั่วสูงไร้ชายคา ที่ดูมีเสน่ห์แบบที่บ้านอื่นไม่มี หลายปีมานี้บ้านแบบที่ว่าจึงยังคงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบบ้านในฝันที่หลายคนอยากจะสร้าง เพียงแต่อาจต้องปรับบางอย่างเพื่อความอยู่สบาย บ้านหลังนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสไตล์โรงนาที่อาจเป็นแรงบันดาลใจในการทำบ้านของใครหลายๆ คน โครงการบ้าน
ดีไซเนอร์ Mikhail Novinskiy และ Anastasia Konnova จาก MNdesign เพิ่งสร้างบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโรงนาในหมู่บ้าน ที่มีทิวทัศน์สวยงามในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เป็นบ้านของครอบครัวที่ออกแบบมาสำหรับตัวเองและลูกๆ สองคน ภายนอกนั้นนอกจากจะโดดเด่นด้วยความมินิมอล เรียบง่าย เส้นสายที่ดูสะอาดตาไม่มีกันสาด ไม่มีชายคายื่นออกมารบกวน ยังปนความทันสมัยในโทนสีดำทั้งหลัง และมีพื้นที่นั่งเล่นดื่มด่ำกับบรรยากาศรอบบ้านในวันที่สภาพอากาศดี ๆtownhouse
เมทัลชีทเป็นวัสดุที่นิยมใช้กันมากในประเทศฝั่งตะวันตกและยุโรป ซึ่งเหมาะกับการทำบ้านสไตล์โรงนาโมเดิร์นหรือนอร์ดิก เนื่องจากมีรอยต่อน้อยลดความเสี่ยงรั่วซึม สามารถทำความลาดชันได้หลากหลายองศา และยังมีน้ำหนักเบาทำให้ก่อสร้างได้ง่าย
การตกแต่งภายใน เน้นการตกแต่งด้วยวัสดุไม้ฟอกสีอ่อน ๆ ทั้งหลัง ซึ่งให้ผลในเรื่องของความอบอุ่บและความเป็นธรรมชาติ ลดทอนความเรียบนิ่งของสีดำภายนอกได้เป็นอย่างดี หน้าต่างบานใหญ่ช่วยให้แสงธรรมชาติผ่านเข้ามาเติมความอบอุ่น และในขณะเดียวกันก็ให้ทัศนียภาพของชานบ้านและสวน ซึ่งเข้ากันกับสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศของรัสเซียที่หนาวเย็นได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์น้อย จึงเลือกใช้วัสดุกระจกในบริเวณกว้างให้สามารถนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคารได้มากขึ้น ด้วยความใสเราจึงสามารถมองเห็นห้องนั่งเล่นแบบเปิดโล่ง พื้นที่รับประทานอาหาร และห้องครัว ได้จากภายนอก
ชั้นล่างออกแบบแปลน open plan
เปิดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ไไม่มีผนังแบ่งกั้นระหว่างห้อง รวมฟังก์ชันสำหรับใช้งานส่วนรวม อาทิ ห้องนั่งเล่นผิงไฟ มุมทานอาหาร ครัว ซึ่งตกแต่งในโทนสีดำบนพื้นหลังไม้สีอ่อน ที่ทำให้เฟอร์นิเจอร์และกรอบหน้าต่างคมขัดเด่นขึ้นมา ตัวอาคารที่สูงเป็นพิเศษและหลังคาจั่วที่ตีฝ้าตามแนวหลังคาทำให้บ้านสูงโปร่ง เมื่อใส่ผนังกระจกจะช่วยเปิดมุมมองบ้านให้สูงขึ้นถึงท้องฟ้า ในห้องนี้เตาผิงเหล็กหล่อขนาดกะทัดรัดที่มุมกลายเป็น “หัวใจ” ของบ้าน เพราะเป็นทั้งแหล่งกำเนิดไฟ ที่ทำให้ทั้งอุ่นกายและอุ่นหัวใจเมื่อสมาชิกในบ้านทุกคนได้มารวมกันที่นี่จากวิวนี้จะเห็นระเบียงบนชั้นสอง จุดนี้ต้องยกความดีให้กับความสูงของอาคารอีกครั้ง เพราะระดับความสูงจากพื้นถึงเพดานที่มากขึ้น ทำให้สามารถแบ่งเป็นชั้นลอยที่เพิ่มการใช้งานได้และสามารถมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นง่ายขึ้น
หลังจากเดินตามทางเดินเล็กๆ หลังมุมนั่งเล่น ลึกจะมาพบกับมุมแขวนของใช้เล็ก ๆ เหมือนประตูหน้าและทางเข้า ใช้วัสดุผนังแบบเดียวกับห้องนั่งเล่นและห้องนอนเป็นระบบไม้ฝาเข้าลิ้นบังใบเห็นร่องระหว่างแผ่นไม้ ซึ่งทำให้ห้องดูคลาสสิคอบอุ่นผ่อนคลาย สีอ่อน ๆ ของไม้รอบ ๆ ห้แงยังขับเน้นให้เฟอร์นิเจอร์และตู้สีเข้มให้องค์ประกอบการออกแบบที่ตัดกัน โครงการบ้าน
ห้องนอนของเด็กๆ อยู่ชั้นบนห้องใต้หลังคา มีมุมอ่านหนังสือเล็กๆ และประตูห้องนอนสีดำ ห้องนอนสองห้องออกแบบให้เป็น (mirror images) เหมือนกระจกภาพสะท้อนของกันและกัน อย่างไรก็ตาม ผนังระหว่างสองห้องมีเพียงบางส่วนเท่านั้นไม่ได้ก่อเต็มพื้นที่ มีช่องว่างให้เด็กๆ มาได้เล่นด้วยกัน แต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง มุมทำการบ้านขนาดเล็กมาพร้อมโต๊ะสีขาวและเก้าอี้สีส้มสดใส ชวนให้สนุกกับการทำงานและการอยู่ร่วมกันตัวบ้านงดงามเปล่งประกายด้วยแสงไฟในเวลากลางคืน ไฟภายนอกอาคารจะเน้นที่ผนังไม้และชานไม้ที่เข้าชุดกัน สร้างมิติให้บ้านดูแตกต่างไปจากช่วงกลางวันคนละ feelingบ้านจัดสรร ภูเก็ต
บ้านสไตล์ยุโรปทั่วไปจะมีหลังคาสูง ความสูงนี้มากพอที่จะแบ่งให้เป็นห้องใต้หลังคา สำหรับเก็บของหรือให้คนรับใช้นอนพักได้ แต่ด้วยความที่ห้องสมัยก่อนไม่มีฉนวนกันความร้อน และช่องระบายอากาศน้อย เมื่อฤดูร้อนมาถึงความร้อนจากหลังคาที่แผ่ลงมายังพื้นที่ใต้หลังคาตรงๆ ทำให้ร้อนจัด ในฤดูหนาวส่วนนี้ก็จะหนาวจัด อับ และชื้น เพราะแสงแดดส่องเข้ามาไม่ถึง บ้านยุคใหม่ที่จะทำห้องใต้หลังคา จึงนิยมใส่ฉนวนกันความร้อนระหว่างหลังคากับฝ้าเพดาน และเพิ่มช่องทางระบายอากาศรับแสงในฤดูหนาว สำหรับบ้านเขตร้อนอย่างเมืองไทย หากต้องการสร้างบ้านที่มีต้นแบบมาจากเขตหนาวแบบนี้ ควรปรึกษาสถาปนิกก่อน เพื่อปรับประยุกต์ให้เข้ากับบ้านหน้าร้อนมากที่สุดพูลวิลล่า ภูเก็ต