บ้านสไตล์อินดัสเทียล
บ้านสไตล์อินดัสเทียล บ้านเก่าเเต่เก๋า ดูด้านๆผ่านกาลเวลา
บ้านสไตล์อินดัสเทียล บ้านเก่าเเต่เก๋า ดูด้านๆผ่านกาลเวลา ย้อนกลับไปเมื่อ 40-50 ปีก่อน Lofty เป็นคำจำกัดความของที่อยู่อาศัยของเหล่าศิลปินและนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ เห็นได้ชัดในเมืองใหญ่ๆอย่างย่านบรู๊กลินหรือโซโห สหรัฐอเมริกา ย่าน Shoreditch ในลอนดอน อังกฤษ และเมืองแฟรงเฟิร์ต เยอรมนี หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการขยายตัวของโรงงานต่างๆออกไปตั้งย่านชานเมือง โรงงานเก่าที่เคยอยู่ในเมืองจึงถูกทิ้งร้าง ศิลปินและนักออกแบบจึงมองเห็นช่องทางในการดัดแปลงเป็นทั้งสตูดิโอศิลปะส่วนตัวและที่อยู่อาศัยในราคาประหยัด phuket property
ในบ้านเรากระแสการตกแต่งสไตล์อินดัสเทรียลเป็นที่นิยมในช่วง 2 ปีมานี้ ซึ่งแต่ก่อนเราอาจคุ้นหูกับคำว่า “ลอฟต์” มากกว่า เพราะเป็นกระแสฮิตที่ไม่ว่าบ้านไหนก็ต้องหาทางฉาบปูนเปลือยให้สวยกันอยู่พักใหญ่ แม้ทั้งลอฟต์และอินดัสเทรียลจะมีส่วนคล้ายกันในเรื่องการใช้งานสถาปัตยกรรมให้เป็นประโยชน์ แต่ก็มีความต่างในรายละเอียดบางอย่าง สไตล์อินดัสเทรียลต้องมีโครงสร้างของสถาปัตยกรรมที่เก็บไว้ในรูปแบบเดิม เช่น โกดังเก่า หรืออาคารที่มีโครงสร้างขนาดใหญ่ มีการตกแต่งเลียนแบบโรงงานเก่า ใช้วัสดุขึ้นสนิมที่ดูผ่านกาลเวลามานาน และเฟอร์นิเจอร์ที่ย้อนยุคไปช่วงปี 1950 ซึ่งถือเป็นการตกแต่งที่ทันสมัย และเก๋ที่สุดในยุคนั้น ให้ความรู้สึกขัดแย้งกับความเก่าของตัวอาคาร ส่วนสไตล์ลอฟต์ต้องมีฝ้าเพดานสูง ดูเท่ นิ่ง และเรียบง่าย มีรายละเอียดการตกแต่งของสไตล์โมเดิร์นมาประกอบมากกว่า โครงการบ้าน ภูเก็ต
คาน วัสดุเปลือย และเพดานสูง
หากชื่นชอบการตกแต่งสไตล์นี้ ต้องมีใจรักในงานโครงสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วย เพราะต้องโชว์ฝ้าเพดานเปลือย เพื่อให้เห็นท่อเหล็กร้อยสายไฟ ท่อแอร์ ท่อน้ำเหล็ก ระบบงานฝ้าทุกอย่างที่เคยซ่อนไว้ รวมถึงโครงสร้างอาคาร ส่วนผนังฉาบเรียบลืมไปได้เลย ผนังสไตล์นี้ใช้อิฐโชว์แนวและไม่ทำสี หรือบางทีถ้าเป็นผนังทึบเดิมก็กะเทาะปูนออกให้เห็นอิฐโครงสร้างด้านในให้ดูเหมือนว่ายังฉาบไม่เสร็จดี และใช้เฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเป็นหลัก หรือใช้ชั้นเหล็กสูงวางของและกั้นพื้นที่ในตัว พื้นก็เลียนแบบพื้นในโรงงานอุตสาหกรรม มีทั้งพื้นคอนกรีต พื้นไม้ที่มีร่องรอย และพื้นไม้ที่ไม่เคลือบเงา ดูด้านๆผ่านกาลเวลา โครงการบ้าน
บ้านโชว์สัจจะวัสดุ สื่อคาแร็กเตอร์ของผู้อยู่
คอนกรีตบล็อกและแผ่นเหล็กขึ้นสนิม สองวัสดุนี้หากเรามองเผิน ๆ คงจะนึกภาพไม่ออกว่าจะนำมาสร้างสรรค์เป็นบ้านที่น่าอยู่ได้อย่างไร เพราะคอนกรีตบล็อก เป็นวัสดุที่ราคาถูก ผิวสัมผัสและสีไม่เชิญชวนให้นำมาใช้สร้างบ้านสักเท่าไหร่ นอกจากจะฉาบและทาสีทับให้เรียบร้อย แต่ในต่างประเทศกลับนิยมนำวัสดุบ้าน ๆ นี้มาใส่ความคิดสร้างสรรค์ให้บ้านงบน้อยออกมาดูดีกว่าที่คิด เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสไตล์อินดัสเทรียลลุคดิบ ๆ แบบโรงงาน ออกมาเป็นบ้านสุด cool ที่ต้องมองซ้ำ
หยิบวัสดุง่าย ๆ มาตกแต่งสไตล์อินดัสเทรียลสุด cool
บ้านหลังนี้ในนิวซีแลนด์ได้รับรางวัล NZIA Auckland Branch Award 2017 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแนวคิดในการสร้างสรรค์บ้านธรรมดาหลังนี้ต้องไม่ธรรมดา เพราะโจทย์คือความต้องการบ้านที่แตกต่างและน่าสนุก ด้วยความที่ Rod and Liz เจ้าของบ้านอยู่ในอุตสาหกรรมการแล่นเรือสำราญ จึงต้องคลุกคลีกับโรงงานและชอบความตรงไปตรงมาของวัสดุและโครงสร้างที่ใช้ และเมื่อแกรนท์ลูกชายของพวกเขาซึ่งเป็นหนึ่งในทีมสถาปนิกมีส่วนร่วมในการออกแบบ จึงหยิบเอาวัสดุง่าย ๆ มาประกอบกันเป็นบ้านที่ให้เหมาะกับคาแร็กเตอร์และไลฟ์สไตล์ของครอบครัว บ้านจัดสรร
แกรนท์หยิบวัสดุที่แสดงเนื้อแท้แบบดิบ ๆ แบบไม่ต้องแต่งเติมทั้งเหล็กกล่อง คอนกรีตบล็อก แผ่นเหล็กสีสนิม ไม้ และกระจก มารวมเข้าด้วยกัน ออกมาเป็นบ้านสองชั้นที่รายละเอียดไม่ยุ่งยาก วัสดุแต่ละชนิดต่างทำหน้าที่ของตัวเองอย่างชัดเจน เน้นให้บ้านมีความสะดวกสบายและเป็นส่วนตัวด้วยสเปซที่โล่งกว้างภายนอก และสร้างการเชื่อมต่อที่ต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวกับพื้นที่กลางแจ้ง ข้าง ๆ บ้านทำหลังคาขนาดใหญ่ยื่นออกมาปกป้องบ้านจากแดดและฝน ทำเป็นห้องนั่งเล่นเอาท์ดอร์ จึงเหมาะสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ต้องการความผ่อนคลาย รองรับกิจกรรมทั้งภายนอกภายใน โครงการบ้าน
บ้าน Double space ประตูกระจกขนาดใหญ่ ยิ่งโปร่งยิ่งเบา
เพื่อให้ได้ลุคและความรู้สึกแบบโรงงานที่มีโครงหลังคาค่อนข้างสูง บ้านหลังนี้จึงกำหนดระยะห่างจากพื้นถึงเพดานค่อนข้างมาก เป็นอาคารโถงสูงสองเท่า (Double space ) ของบ้านปกติ ด้วยความที่เพดานสูง สัดส่วนของประตูจึงต้องทำขนาด over size สูงหลายเมตรเพื่อให้ดูสมดุล ทำให้บ้านยิ่งดูโอ่โถงและระบายอากาศได้ดี บนเพดานติดพัดลมเพดานใบพัดเหล็กเพิ่มความขึงขัง เข้ากันได้กับโครงสร้างบ้านและหลังคาที่เป็นเหล็กสีดำ แต่สถาปนิกก็ไม่ลืมแทรกหลาย ๆ จุดด้วยไม้เพื่อลดทอนความรู้สึกไม่ให้บ้านดูดิบกระด้างจนเกินไป โครงการบ้าน
ชั้นล่างของบ้านรวมเอาฟังก์ชันที่ใช้งานร่วมกันแบบสาธารณะเข้าไว้ด้วยกัน อาทิ มุมนั่งเล่น ครัว มุมรับประทานอาหาร ทำให้สมาชิกครอบครัวสามารถทำกิจกรรมที่หลากหลายได้พร้อม ๆ กันในจุดเดียว ทุกพื้นที่ในส่วนนี้คุมโทนสีธรรมชาติกลาง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสีเทาจากบล็อกคอนกรีต สีเทาเข้มของพื้นหินขัด ไอส์แลนด์ไม้ท็อปคอนกรีต โซฟาโทนสีเทา ซึ่งให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นไปในทิศทางเดียวกันองค์ประกอบของเหล็กไม่ได้มีเฉพาะในส่วนของโครงสร้างบ้าน เสา คาน หลังคา เท่านั้น แต่ยังใช้ในรายละเอียดอื่น ๆ เช่น บันได ราวกันตก ราวระเบียง และประตูรางแขวนแบบบ้านฟาร์มแต่ใช้แผ่นเหล็กขนาดใหญ่แทนไม้ ดูแล้วรู้สึกได้ถึงความเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยความเท่ บ้านเดี่ยว